วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2560

แนวคิดทฤษฏีการจัดการ

แนวคิด ทฤษฏี การจัดการ
         บทที่ แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจากเอกสาร ให้นักศึกษา ศึกษาข้อมูลตั้งแต่หน้า 17-28 แล้วดำเนินการดังนี้1. สรุปความ

 การบริหาร หมายถึง กิจกรรมที่บุคคลตั้งแต่ 2คนขึ้นไป ร่วมมือกันใช้ศาสตร์ และศิลปะในการดำเนินการ โดยนำเอาทรัพยากรทางการบริหารมาประกอบตามกระบวนการ บริหาร เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 การวางแผน หมายถึง กระบวนการพิจารณาตัดสินใจล่วงหน้าว่าจะทำอะไร อย่างไร มีการกำหนดเลือกวัตถุประสงค์ และวิธีปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น โดยอาศัยการวิเคราะห์ ข้อมูลจากอดีต การตัดสินใจในปัจจุบัน และทำการประเมินผลในอนาคต ทั้งนี้ต้องมีการทำอย่าง ต่อเนื่อง มีความยืดหยุ่นรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ 

 การจัดองค์การ หมายถึง การกำหนดโครงสร้างองค์การ เพื่อให้สิ่งของและบุคคลผู้ เข้ามาอยู่ในองค์การสามารถทำงานเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้กระบวนการ ต่าง ๆ ในการสนับสนุนให้การดำเนินงานสามารถประสบความสำเร็จได้ตามที่วางแผนงานไว้

การนำ หมายถึง การที่ผู้บริหารหรือผู้นำองค์การใช้ภาวะผู้นำร่วมกับการจูงใจใน การทำให้สมาชิกขององค์การทำงานของตนเองอย่างเต็มที่ เพื่อให้องค์การได้รับความสำเร็จตามที่ ได้กำหนดไว้ 

 การควบคุม หมายถึง กระบวนการปรับปรุงทบทวนแผนงานและกิจกรรมที่ได้ กำหนดไว้เพื่อปรับเปลี่ยนแก้ไขให้เป็นไปในทิศทางที่มุ่งสู่ภารกิจหลักขององค์การที่ตั้งไว้ 

สรุป การบริหารจัดการ มี4 องค์ประกอบ คือ การวางแผน เป็นกระบวนการพิจารณา ตัดสินใจล่วงหน้าว่าจะทำอะไร อย่างไร มีการกำหนดเลือกวัตถุประสงค์ และวิธีปฏิบัติเพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์นั้น โดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลจากอดีต การตัดสินใจในปัจจุบัน และท าการ ประเมินผลในอนาคต ทั้งนี้ต้องมีการทำอย่างต่อเนื่อง มีความยืดหยุ่นรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การจัดองค์การ เป็นการกำหนดโครงสร้างองค์การ เพื่อให้สิ่งของและบุคคลผู้เข้ามาอยู่ใน องค์การสามารถท างานเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้กระบวนการต่าง ๆ ใน การสนับสนุนให้การด าเนินงานสามารถประสบความส าเร็จได้ตามที่วางแผนงานไว้การน าคือ การที่ผู้บริหารหรือผู้น าองค์การใช้ภาวะผู้น าร่วมกับการจูงใจในการท าให้สมาชิกขององค์การ ท างานของตนเองอย่างเต็มที่ เพื่อให้องค์การได้รับความส าเร็จตามที่ได้ก าหนดไว้ การควบคุม เป็นกระบวนการปรับปรุงทบทวนแผนงานและกิจกรรมที่ได้ก าหนดไว้เพื่อปรับเปลี่ยนแก้ไขให้ เป็นไปในทิศทางที่มุ่งสู่ภารกิจหลักขององค์การที่ตั้งไว้


2. วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของแต่ละรูปแบบการบริหารจัดการ


กิจการเจ้าของคนเดียว
 ข้อดี
  1. เจ้าของมีอำนาจในการตัดสินใจเต็มที่
  2. ผลกำไรจากการทำธุรกิจ เจ้าของได้รับโดยตรงซึ่งอาจจะนำไปลงทุนเพิ่มได้เองตามความต้องการ
  3. ตัดสินใจเลิกกิจการได้ง่าย หากเห็นว่ากิจการมีแนวโน้มที่จะขาดทุน
  4. ค่าใช้จ่ายด้านการบริหารต่ำ
  5. ข้อบังคับทางกฎหมายน้อย
ข้อเสีย
  1. ปริมาณเงินลงทุนมีจำกัดจากเงินลงทุนส่วนตัวของเจ้าของหรือการหยิบยืมจากคนรู้จัก
  2. ความรับผิดชอบต่อหนี้สินของกิจการ เจ้าหนี้สามารถตามยึดทรัพย์สินส่วนตัวของเจ้าของกิจการได้ แม้มิใช่ทรัพย์สินที่ลงทุนในกิจการ
  3. กิจการมีอายุจำกัด โดยจะคงอยู่เมื่อเจ้าของยังมีชีวิตอยู่ เมื่อเจ้าของเสียชีวิต ทรัพย์สินของกิจการก็จะถูกรวมเป็นทรัพย์สินของเจ้าของกิจการและส่งมอบให้แก่ทายาทผู้สืบทอดมรดก ซึ่งทายาทอาจไม่ดำเนินกิจการต่อ
  4. ไม่สามารถระดมทุนจากภายนอกได้เต็มที่ นอกจากการใช้เครดิตส่วนตัวของเจ้าของเท่านั้น
  5. ขาดความน่าเชื่อถือของกิจการ

ห้างหุ้นส่วน
 ข้อดี
  1. มีแหล่งเงินทุนมากกว่ากิจการเจ้าของคนเดียว
  2. สามารถใช้ความสามารถในการบริหารโดยระดมสมองร่วมกันตัดสินใจบริหารงาน
  3. การเสี่ยงน้อยลง เพราะมีผู้ร่วมเฉลี่ยภาระการเสี่ยง
  4. การจัดตั้งไม่ยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งกิจการต่ำ
  5. เลิกกิจการได้ง่าย
 ข้อเสีย
  1. มีการระดมทุนในวงจำกัดเฉพาะจากผู้เป็นหุ้นส่วนเท่านั้น
  2. กำไรถูกแบ่งเฉพาะหุ้นส่วน
  3. การตัดสินใจอาจล่าช้า เพราะความคิดเห็นขัดแย้งกันในบางกรณี
  4. มีอายุจำกัด ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของห้างหุ้นส่วนแต่ละแห่ง ถ้ามิได้ระบุเป็นอย่างอื่น ความเป็นห้างจะสิ้นสุดลงเมื่อหุ้นส่วนถอนตัว หรือมีหุ้นส่วนคนใดเสียชีวิตลง
  5. การไม่จำกัดความรับผิดชอบของหุ้นส่วน ทำให้อาจไม่กล้าเสี่ยงขยายกิจการ
บริษัทจำกัด
ข้อดี
  1. ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบในหนี้สินของบริษัทเพียงเท่ากับเงินลงทุนที่สัญญาจะลงทุนตามมูลค่าหุ้นที่ยังชำระไม่ครบ (ผู้ถือหุ้นมีความรับผิดชอบเพียงมูลค่าที่ตนยังค้างชำระเท่านั้น)
  2. เจ้าหนี้ไม่สามารถไปยึดทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ถือหุ้นได้
  3. ผู้ถือหุ้นสามารถขายหรือโอนหุ้นให้กับผู้อื่นได้
  4. กรณีผู้ถือหุ้นตาย ล้มละลาย หรือศาลสั่งให้ออกจากผู้ถือหุ้น บริษัทก็ยังดำเนินกิจการต่อไปได้
  5. มีความน่าเชื่อถือกว่ากิจการเจ้าของคนเดียว หรือห้างหุ้นส่วน
 ข้อเสีย
  1. ขั้นตอนการจัดตั้งยุ่งยาก
  2. ค่าใช้จ่ายในการบริหารสูง
  3. การเลิกกิจการทำได้ยาก ต้องมีการชำระบัญชีและจัดการให้ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับทางกฎหมาย
  4. ข้อมูลสามารถรับรู้ได้โดยง่าย เนื่องจากต้องเปิดเผยข้อมูลให้ผู้ถือหุ้นและบุคคลภายนอกทราบจึงไม่อาจรักษาความลับได้
  5. ในการดำเนินการของบริษัทจำกัด มีทั้งผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริษัทและพนักงาน ดังนั้นในการปฏิบัติงานอาจจะมีบางส่วนที่ขาดความตั้งใจในการทำงานเพราะไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการเอง


3. เปรียบเทียบรูปแบบการบริหารจัดการทุกชนิดกับแต่ละอัน


เปรียบเทียบ
ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
1. แนวคิดก่อนยุคการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ( Pre– Scientific Management ) ในยุคนี้เป็นยุคก่อนปี ค.ศ. 1880 ซึ่งการบริหารในยุคนี้อาศัยอำนาจหรือการบังคับให้คนงานทางานซึ่งวิธีการบังคับอาจใช้การลงโทษ การใช้แส้ การทางานในยุคนี้เปรียบเสมือนทาส คนในยุคนี้จึงต้องทางานเพราะกลัวการลงโทษ
2. แนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ( Scientific Management ) แนวคิดนี้เริ่มในช่วงของการปฏิวัติอุตสาหกรรมคือประมาณปี ค.ศ 188 เป็นต้นมาจนถึงปี 1930 ในยุคนี้ได้ใช้หลักวิธีการจัดการแบบวิทยาศาสตร์มาช่วยในการบริหารการจัดการ ทาให้ระบบบริหารการจัดการแบบโบราณได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ได้รับการยอกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการแบบวิทยาศาสตร์หรือบิดาของวิธีการจัดการที่มีหลักเกณฑ์ โดยได้ศึกษาหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพการทางานของคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมโดย Taylor ได้เข้าทางานครั้งแรก
ในโรงงานที่เพนซิลวาเนีย เมื่อปี ค.ศ.1878 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำมากการบริหารงานขาดประสิทธิภาพ ไม่มีมาตรฐานในการประเมินผลงานของคนงาน การแบ่งงานไม่เหมาะสม การตัดสินใจขาดหลักการและเหตุผลสาหรับการศึกษาที่ใช้หลักวิทยาศาสตร์ ( The Scientific Approach ) มีส่วนประกอบสำคัญ 3ลักษณะคือ
1. มีแนวคิดที่ชัดเจน ( Clear Concept ) แนวความคิดต้องชัดเจนแน่นอนในสิ่งที่จะวิเคราะห์
2. วิธีทางวิทยาศาสตร์ ( Scientific ) สาขาพิจารณาข้อเท็จจริงได้ทางวิทยาศาสตร์หรือสังเกตได้ แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาทาการทดสอบความถูกต้อง ถ้าเป็นจริงก็คือหลักเกณฑ์(Principles)
3.ทฤษฎี ( Theory ) หมายถึง การจัดระบบความคิดและหลักเกณฑ์มารวมกันเพื่อได้ความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
3. แนวคิดการจัดการยุคมนุษย์สัมพันธ์ ( Human Relation )แนวคิดมนุษย์สัมพันธ์เป็นแนวคิดที่ขัดแย้งกับแนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ที่เน้นประสิทธิภาพของการทางาน และมองข้ามความสำคัญของคน เห็นว่ามนุษย์ไม่มีชีวิตจิตใจ ไม่มีความต้องการมากนัก มีพฤติกรรมที่ง่ายต่อความเข้าใจ โดยอาศัยโครงสร้างขององค์การมาเป็นตัวกำหนด และควบคุม ให้มนุษย์ทางานให้บรรลุผลสำเร็จ ซึ่งยุคมนุษย์สัมพันธ์นั้นเป็นแนวคิดที่อยู่ในช่วงระหว่างปี ค.ศ 1930 – 1950 เนื่องจากเล็งเห็นว่า การจัดการใด ๆ จะบรรลุผลสำเร็จได้นั้นจะต้องอาศัยคนเป็นหลัก ดังนั้นแนวคิดมนุษย์สัมพันธ์ จึงได้ให้ความสำคัญในเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จึงทาให้เรื่องราวของมนุษย์สัมพันธ์ ( Human Relation ) กลับมามีบทบาทสำคัญมากขึ้นนักวิชาการสำคัญที่ให้การสนับสนุนและศึกษาแนวคิดซึ่งจุดประสงค์ก็คือต้องการเข้าใจพฤติกรรมของคนในหน้าที่งานที่จัดไว้ให้ ปรากฏว่าคนทางานมิใช่ทางานเพื่อหวังผลตอบแทนด้วยตัวเงินเพียงอย่างเดียว แต่คนทางานต้องการด้านสังคมภายในกลุ่มที่เกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ ที่เป็นเรื่องของจิตใจ ตลอดจนความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างคนงานด้วยกัน
          การศึกษาวิจัยดังกล่าวได้ศึกษาทดลองออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. การศึกษาทดลองภายในห้อง (Room Studies) ได้ทาการทดลองเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของแสงสว่างภายในห้องทางาน เพื่อสังเกตประสิทธิของการทางานว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
2. การศึกษาโดยการสัมภาษณ์ ( Interviewing Studies ) การทดลองนี้ก็เพื่อค้นหาความเปลี่ยนแปลงในการทางานเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมของการทางานและการบังคับบัญชา
3. การศึกษาโดยการสังเกต ( Observation Studies ) เป็นการสังเกตการทางานของคนและปัจจัย
อื่นๆจากการทดลองนี้ได้ประโยชน์หลายประการ
4. แนวคิดการจัดการยุคการบริหารสมัยใหม่ ( Modern Management )ซึ่งในขณะนี้เศรษฐกิจ และธุรกิจขยายตัวอย่างรวดเร็วความสลับซับซ้อนในการบริหารการจัดการก็มากขึ้น เพราะฉะนั้นการจัดการสมัยใหม่ จึงต้องใช้หลักทางคณิตศาสตร์มาช่วยในการตัดสินใจ ตลอดจนการจัดการเชิงระบบมาช่วย แต่อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างเช่น คนเป็นระบบ เพราะในร่างกายของคนเรานั้นประกอบด้วย อวัยวะ ซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างอัตโนมัติ ระบบจึงถือเป็น Grand Theory เป็นทฤษฎีขนาดใหญ่ เพราะมีระบบย่อยหรือสิ่งต่าง ๆ มากมาย เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ขององค์การไม่ว่าภายในหรือภายนอก ล้วนแต่มีความสัมพันธ์ เกี่ยวเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ดังนั้นการบริหารการจัดการจึงต้องปรับตัวให้มีความสมดุลอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กับปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าว จึงจะทาให้องค์การเติบโต อยู่รอด และสัมฤทธิผลตามเป้าหมาย










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น