วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560

นวัตกรรมใหม่ที่5


Ear Cell Phone Conceptแนวคิดโทรศัพท์มือ ถือหูฟังล่องหน


แนวคิดโทรศัพท์มือถือหูฟังล่องหนหรือที่เรียก ว่า "Ilshat Garipov" ออกแบบให้มีขนาดบาง เฉียบ มีลักษณะคล้ายคลิปหนีบ ดึงส่วนยื่นออกมาเกี่ยวกับช่องหู คล้ายหูฟังวัสดุประกอบตัวเครื่องแต่ละชั้นใช้โพลิเมอร์สอดแทรกด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเซ็นเซอร์จำนวนมากสามารถตรวจจับผิวหน้าสัมผัสกับตัวเครื่องเปลี่ยนสีพื้นผิวโทรศัพท์ให้เหมือนกับบริเวณที่ส่วมใสอยู่ ดูผ่านๆ แล้วเหมือนกับโทรศัพท์ล่องหนได้
ผลงานการอกแบบของ Kambala

นวัตกรรมใหม่อันที่4


 Flexible Cell Phone Concept: แนวคิดโทรศัพท์มือ ถือกำไลข้อมือ


แนวคิดโทรศัพท์มือถือกำไลข้อมือ หรือนาฬิกา โดยตัวเครื่องทำมาจากวัสดุที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถโค้งงอ ยึดปลายทั้งสองเข้าหากัน ใช้เป็นกำไลข้อมือ พกพาไปไหนได้สะดวกมากขึ้น
ผลงานการอกแบบของ Shirley A. Roberts


วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2560

แนวคิดทฤษฏีการจัดการ

แนวคิด ทฤษฏี การจัดการ
         บทที่ แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจากเอกสาร ให้นักศึกษา ศึกษาข้อมูลตั้งแต่หน้า 17-28 แล้วดำเนินการดังนี้1. สรุปความ

 การบริหาร หมายถึง กิจกรรมที่บุคคลตั้งแต่ 2คนขึ้นไป ร่วมมือกันใช้ศาสตร์ และศิลปะในการดำเนินการ โดยนำเอาทรัพยากรทางการบริหารมาประกอบตามกระบวนการ บริหาร เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 การวางแผน หมายถึง กระบวนการพิจารณาตัดสินใจล่วงหน้าว่าจะทำอะไร อย่างไร มีการกำหนดเลือกวัตถุประสงค์ และวิธีปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น โดยอาศัยการวิเคราะห์ ข้อมูลจากอดีต การตัดสินใจในปัจจุบัน และทำการประเมินผลในอนาคต ทั้งนี้ต้องมีการทำอย่าง ต่อเนื่อง มีความยืดหยุ่นรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ 

 การจัดองค์การ หมายถึง การกำหนดโครงสร้างองค์การ เพื่อให้สิ่งของและบุคคลผู้ เข้ามาอยู่ในองค์การสามารถทำงานเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้กระบวนการ ต่าง ๆ ในการสนับสนุนให้การดำเนินงานสามารถประสบความสำเร็จได้ตามที่วางแผนงานไว้

การนำ หมายถึง การที่ผู้บริหารหรือผู้นำองค์การใช้ภาวะผู้นำร่วมกับการจูงใจใน การทำให้สมาชิกขององค์การทำงานของตนเองอย่างเต็มที่ เพื่อให้องค์การได้รับความสำเร็จตามที่ ได้กำหนดไว้ 

 การควบคุม หมายถึง กระบวนการปรับปรุงทบทวนแผนงานและกิจกรรมที่ได้ กำหนดไว้เพื่อปรับเปลี่ยนแก้ไขให้เป็นไปในทิศทางที่มุ่งสู่ภารกิจหลักขององค์การที่ตั้งไว้ 

สรุป การบริหารจัดการ มี4 องค์ประกอบ คือ การวางแผน เป็นกระบวนการพิจารณา ตัดสินใจล่วงหน้าว่าจะทำอะไร อย่างไร มีการกำหนดเลือกวัตถุประสงค์ และวิธีปฏิบัติเพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์นั้น โดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลจากอดีต การตัดสินใจในปัจจุบัน และท าการ ประเมินผลในอนาคต ทั้งนี้ต้องมีการทำอย่างต่อเนื่อง มีความยืดหยุ่นรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การจัดองค์การ เป็นการกำหนดโครงสร้างองค์การ เพื่อให้สิ่งของและบุคคลผู้เข้ามาอยู่ใน องค์การสามารถท างานเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้กระบวนการต่าง ๆ ใน การสนับสนุนให้การด าเนินงานสามารถประสบความส าเร็จได้ตามที่วางแผนงานไว้การน าคือ การที่ผู้บริหารหรือผู้น าองค์การใช้ภาวะผู้น าร่วมกับการจูงใจในการท าให้สมาชิกขององค์การ ท างานของตนเองอย่างเต็มที่ เพื่อให้องค์การได้รับความส าเร็จตามที่ได้ก าหนดไว้ การควบคุม เป็นกระบวนการปรับปรุงทบทวนแผนงานและกิจกรรมที่ได้ก าหนดไว้เพื่อปรับเปลี่ยนแก้ไขให้ เป็นไปในทิศทางที่มุ่งสู่ภารกิจหลักขององค์การที่ตั้งไว้


2. วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของแต่ละรูปแบบการบริหารจัดการ


กิจการเจ้าของคนเดียว
 ข้อดี
  1. เจ้าของมีอำนาจในการตัดสินใจเต็มที่
  2. ผลกำไรจากการทำธุรกิจ เจ้าของได้รับโดยตรงซึ่งอาจจะนำไปลงทุนเพิ่มได้เองตามความต้องการ
  3. ตัดสินใจเลิกกิจการได้ง่าย หากเห็นว่ากิจการมีแนวโน้มที่จะขาดทุน
  4. ค่าใช้จ่ายด้านการบริหารต่ำ
  5. ข้อบังคับทางกฎหมายน้อย
ข้อเสีย
  1. ปริมาณเงินลงทุนมีจำกัดจากเงินลงทุนส่วนตัวของเจ้าของหรือการหยิบยืมจากคนรู้จัก
  2. ความรับผิดชอบต่อหนี้สินของกิจการ เจ้าหนี้สามารถตามยึดทรัพย์สินส่วนตัวของเจ้าของกิจการได้ แม้มิใช่ทรัพย์สินที่ลงทุนในกิจการ
  3. กิจการมีอายุจำกัด โดยจะคงอยู่เมื่อเจ้าของยังมีชีวิตอยู่ เมื่อเจ้าของเสียชีวิต ทรัพย์สินของกิจการก็จะถูกรวมเป็นทรัพย์สินของเจ้าของกิจการและส่งมอบให้แก่ทายาทผู้สืบทอดมรดก ซึ่งทายาทอาจไม่ดำเนินกิจการต่อ
  4. ไม่สามารถระดมทุนจากภายนอกได้เต็มที่ นอกจากการใช้เครดิตส่วนตัวของเจ้าของเท่านั้น
  5. ขาดความน่าเชื่อถือของกิจการ

ห้างหุ้นส่วน
 ข้อดี
  1. มีแหล่งเงินทุนมากกว่ากิจการเจ้าของคนเดียว
  2. สามารถใช้ความสามารถในการบริหารโดยระดมสมองร่วมกันตัดสินใจบริหารงาน
  3. การเสี่ยงน้อยลง เพราะมีผู้ร่วมเฉลี่ยภาระการเสี่ยง
  4. การจัดตั้งไม่ยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งกิจการต่ำ
  5. เลิกกิจการได้ง่าย
 ข้อเสีย
  1. มีการระดมทุนในวงจำกัดเฉพาะจากผู้เป็นหุ้นส่วนเท่านั้น
  2. กำไรถูกแบ่งเฉพาะหุ้นส่วน
  3. การตัดสินใจอาจล่าช้า เพราะความคิดเห็นขัดแย้งกันในบางกรณี
  4. มีอายุจำกัด ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของห้างหุ้นส่วนแต่ละแห่ง ถ้ามิได้ระบุเป็นอย่างอื่น ความเป็นห้างจะสิ้นสุดลงเมื่อหุ้นส่วนถอนตัว หรือมีหุ้นส่วนคนใดเสียชีวิตลง
  5. การไม่จำกัดความรับผิดชอบของหุ้นส่วน ทำให้อาจไม่กล้าเสี่ยงขยายกิจการ
บริษัทจำกัด
ข้อดี
  1. ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบในหนี้สินของบริษัทเพียงเท่ากับเงินลงทุนที่สัญญาจะลงทุนตามมูลค่าหุ้นที่ยังชำระไม่ครบ (ผู้ถือหุ้นมีความรับผิดชอบเพียงมูลค่าที่ตนยังค้างชำระเท่านั้น)
  2. เจ้าหนี้ไม่สามารถไปยึดทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ถือหุ้นได้
  3. ผู้ถือหุ้นสามารถขายหรือโอนหุ้นให้กับผู้อื่นได้
  4. กรณีผู้ถือหุ้นตาย ล้มละลาย หรือศาลสั่งให้ออกจากผู้ถือหุ้น บริษัทก็ยังดำเนินกิจการต่อไปได้
  5. มีความน่าเชื่อถือกว่ากิจการเจ้าของคนเดียว หรือห้างหุ้นส่วน
 ข้อเสีย
  1. ขั้นตอนการจัดตั้งยุ่งยาก
  2. ค่าใช้จ่ายในการบริหารสูง
  3. การเลิกกิจการทำได้ยาก ต้องมีการชำระบัญชีและจัดการให้ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับทางกฎหมาย
  4. ข้อมูลสามารถรับรู้ได้โดยง่าย เนื่องจากต้องเปิดเผยข้อมูลให้ผู้ถือหุ้นและบุคคลภายนอกทราบจึงไม่อาจรักษาความลับได้
  5. ในการดำเนินการของบริษัทจำกัด มีทั้งผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริษัทและพนักงาน ดังนั้นในการปฏิบัติงานอาจจะมีบางส่วนที่ขาดความตั้งใจในการทำงานเพราะไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการเอง


3. เปรียบเทียบรูปแบบการบริหารจัดการทุกชนิดกับแต่ละอัน


เปรียบเทียบ
ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
1. แนวคิดก่อนยุคการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ( Pre– Scientific Management ) ในยุคนี้เป็นยุคก่อนปี ค.ศ. 1880 ซึ่งการบริหารในยุคนี้อาศัยอำนาจหรือการบังคับให้คนงานทางานซึ่งวิธีการบังคับอาจใช้การลงโทษ การใช้แส้ การทางานในยุคนี้เปรียบเสมือนทาส คนในยุคนี้จึงต้องทางานเพราะกลัวการลงโทษ
2. แนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ( Scientific Management ) แนวคิดนี้เริ่มในช่วงของการปฏิวัติอุตสาหกรรมคือประมาณปี ค.ศ 188 เป็นต้นมาจนถึงปี 1930 ในยุคนี้ได้ใช้หลักวิธีการจัดการแบบวิทยาศาสตร์มาช่วยในการบริหารการจัดการ ทาให้ระบบบริหารการจัดการแบบโบราณได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ได้รับการยอกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการแบบวิทยาศาสตร์หรือบิดาของวิธีการจัดการที่มีหลักเกณฑ์ โดยได้ศึกษาหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพการทางานของคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมโดย Taylor ได้เข้าทางานครั้งแรก
ในโรงงานที่เพนซิลวาเนีย เมื่อปี ค.ศ.1878 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำมากการบริหารงานขาดประสิทธิภาพ ไม่มีมาตรฐานในการประเมินผลงานของคนงาน การแบ่งงานไม่เหมาะสม การตัดสินใจขาดหลักการและเหตุผลสาหรับการศึกษาที่ใช้หลักวิทยาศาสตร์ ( The Scientific Approach ) มีส่วนประกอบสำคัญ 3ลักษณะคือ
1. มีแนวคิดที่ชัดเจน ( Clear Concept ) แนวความคิดต้องชัดเจนแน่นอนในสิ่งที่จะวิเคราะห์
2. วิธีทางวิทยาศาสตร์ ( Scientific ) สาขาพิจารณาข้อเท็จจริงได้ทางวิทยาศาสตร์หรือสังเกตได้ แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาทาการทดสอบความถูกต้อง ถ้าเป็นจริงก็คือหลักเกณฑ์(Principles)
3.ทฤษฎี ( Theory ) หมายถึง การจัดระบบความคิดและหลักเกณฑ์มารวมกันเพื่อได้ความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
3. แนวคิดการจัดการยุคมนุษย์สัมพันธ์ ( Human Relation )แนวคิดมนุษย์สัมพันธ์เป็นแนวคิดที่ขัดแย้งกับแนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ที่เน้นประสิทธิภาพของการทางาน และมองข้ามความสำคัญของคน เห็นว่ามนุษย์ไม่มีชีวิตจิตใจ ไม่มีความต้องการมากนัก มีพฤติกรรมที่ง่ายต่อความเข้าใจ โดยอาศัยโครงสร้างขององค์การมาเป็นตัวกำหนด และควบคุม ให้มนุษย์ทางานให้บรรลุผลสำเร็จ ซึ่งยุคมนุษย์สัมพันธ์นั้นเป็นแนวคิดที่อยู่ในช่วงระหว่างปี ค.ศ 1930 – 1950 เนื่องจากเล็งเห็นว่า การจัดการใด ๆ จะบรรลุผลสำเร็จได้นั้นจะต้องอาศัยคนเป็นหลัก ดังนั้นแนวคิดมนุษย์สัมพันธ์ จึงได้ให้ความสำคัญในเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จึงทาให้เรื่องราวของมนุษย์สัมพันธ์ ( Human Relation ) กลับมามีบทบาทสำคัญมากขึ้นนักวิชาการสำคัญที่ให้การสนับสนุนและศึกษาแนวคิดซึ่งจุดประสงค์ก็คือต้องการเข้าใจพฤติกรรมของคนในหน้าที่งานที่จัดไว้ให้ ปรากฏว่าคนทางานมิใช่ทางานเพื่อหวังผลตอบแทนด้วยตัวเงินเพียงอย่างเดียว แต่คนทางานต้องการด้านสังคมภายในกลุ่มที่เกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ ที่เป็นเรื่องของจิตใจ ตลอดจนความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างคนงานด้วยกัน
          การศึกษาวิจัยดังกล่าวได้ศึกษาทดลองออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. การศึกษาทดลองภายในห้อง (Room Studies) ได้ทาการทดลองเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของแสงสว่างภายในห้องทางาน เพื่อสังเกตประสิทธิของการทางานว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
2. การศึกษาโดยการสัมภาษณ์ ( Interviewing Studies ) การทดลองนี้ก็เพื่อค้นหาความเปลี่ยนแปลงในการทางานเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมของการทางานและการบังคับบัญชา
3. การศึกษาโดยการสังเกต ( Observation Studies ) เป็นการสังเกตการทางานของคนและปัจจัย
อื่นๆจากการทดลองนี้ได้ประโยชน์หลายประการ
4. แนวคิดการจัดการยุคการบริหารสมัยใหม่ ( Modern Management )ซึ่งในขณะนี้เศรษฐกิจ และธุรกิจขยายตัวอย่างรวดเร็วความสลับซับซ้อนในการบริหารการจัดการก็มากขึ้น เพราะฉะนั้นการจัดการสมัยใหม่ จึงต้องใช้หลักทางคณิตศาสตร์มาช่วยในการตัดสินใจ ตลอดจนการจัดการเชิงระบบมาช่วย แต่อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างเช่น คนเป็นระบบ เพราะในร่างกายของคนเรานั้นประกอบด้วย อวัยวะ ซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างอัตโนมัติ ระบบจึงถือเป็น Grand Theory เป็นทฤษฎีขนาดใหญ่ เพราะมีระบบย่อยหรือสิ่งต่าง ๆ มากมาย เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ขององค์การไม่ว่าภายในหรือภายนอก ล้วนแต่มีความสัมพันธ์ เกี่ยวเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ดังนั้นการบริหารการจัดการจึงต้องปรับตัวให้มีความสมดุลอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กับปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าว จึงจะทาให้องค์การเติบโต อยู่รอด และสัมฤทธิผลตามเป้าหมาย










วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2560

บริษัทแนวนอน

1. บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด(มหาชน)




2.  บริษัท อีซี่ บาย จำกัด (มหาชน)
EASY BUY PUBLIC COMPANY LIMITED






3. บริษัท เมเจอร์คลับ จำกัด

 

บริษัทโคร้งสร้างแนวดิ่ง

 1. 
โครงสร้างองค์กร
2.   GMM Logo

3.     ไทยฟู๊ดส์กรุ๊ป


วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2560

นวัตกรรม



Energy Call
หมวดพลังงาน
หมวดอุตสาหกรรม
หมวดวิศวกรรม
หมวดยานยนต์
หมวดสิ่งแวดล้อม
หมวดทั่วไป
ข่าวจากหัวข้อ : นวัตกรรม
 

Transit Elevated Bus รถบัสแห่งอนาคตสู่การขนส่งรูปแบบใหม่ลดปัญหาการจราจรติดขัด

ประเทศจีนได้วางแผนการผลิตรถบัสมากกว่าที่จะผลิตรถยนต์   ซึ่ง ณ ตอนนี้จีนได้ทำการผลิตรถบัสแห่งอนาคต TEB  รูปแบบใหม่และมีการนำรถต้นแบบมาทดสอบใช้งานจริงแล้ว โดยใช้ระบบการขับเคลื่อนพิเศษตรงที่รถบัส TEB  จะขับคร่อมได้ทั้งสองเลนของถนน ซึ่งรถยนต์สามารถขับไป-มา บนท้องถนนได้ในเวลาเดียวกันช่วย แก้ปัญหาในเรื่องการจราจรแออัด    อีกทั้งค่าใช้จ่ายยังถูกกว่ารถไฟฟ้าใต้ดิน อีกด้วย

ครั้งแรกของโลกกับรถบัสแห่งอนาคต มีชื่อว่า  (Transit Elevated Bus หรือ TEB)  จากประเทศจีน โดยได้เปิดแผนความคิดการผลิตรถบัสแห่งอนาคตเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นที่สุดกับรถบัสแห่งอนาคต TEB  ตัวต้นแบบ สามารถรองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 1,000 คน มีทั้งหมด 2 ชั้น ภายใต้รถมีความสูงราวๆ 5.6 ฟุต สบายพอที่จะให้รถยนต์วิ่งตัดผ่านใต้ท้องรถได้   ซึ่งการทดสอบในเบื้องต้นนี้ถือว่าเป็นไปได้ด้วยดี  ตลอดเส้นทางจะมีสถานีชาร์จตั้งไว้เพื่อให้รถสามารถชาร์จแบตเพิ่มได้เมื่อพลังงานเริ่มต่ำลง


รถบัสแห่งอนาคต TEB  สามารถเดินทางด้วยความเร็วสูงสุดได้ 36ไมล์ ต่อชั่วโมง  ซึ่งถือว่าเร็วมากถ้าเทียบกับการจราจรในประเทศจีน และเป็นครั้งแรกของโลกกับ นวัตกรรมรถบัสแห่งอนาคตที่บรรจุคนได้อย่างมหาศาลอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน